เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก
เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก – การเลือกเก้าอี้ห้อง ประชุมที่มีคุณภาพ มีความทนทาน ใช้ได้นานเป็นทางเลือกที่คน ในยุคปัจจุบันนิยมมากที่สุด เพราะในสภาพสังคมที่เร่งรีบ ทุกคนต่างต้องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฉะนั้นคงไม่มีใครอยากใช้สินค้าที่เสื่อมสภาพเร็ว เพราะต้องมาเสียเวลาหาซื้อใหม่ หรือต้องใช้เวลาหลายวันในการติดตามการส่งซ่อมสินค้า ซึ่งอาจโชคร้ายต้องเสียค่าซ่อมแซ่มที่แพงเกินคาดเดา
รูปแบบการจัดห้องประชุม
1.การจัดห้องประชุมแบบเธียเตอร์ เป็นการจัดห้องประชุมที่ยึดรูปแบบโรงหนังหรือโรงละครเวที
2.การจัดห้องประชุมแบบเก้าอี้วงกลม รูปแบบการจัดห้องประชุมแบบใช้เพียงเก้าอี้อย่างเดียว
3.การจัดห้องประชุมแบบห้องเรียน การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมีการจดบันทึก
4.การจัดห้องประชุมแบบบอร์ดรูม การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมต้องปรึกษาหารือและระดมความคิดกัน
5.การจัดห้องประชุมแบบโต๊ะกลมวงปิด งานที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมได้มีการพูดคุยสนทนาได้อย่างสะดวก
6.การจัดห้องประชุมแบบโต๊ะวงกลมเปิด เหมาะกับงานที่ผู้เข้าร่วมพูดคุยพร้อมๆกับที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมสามารถมองเห็นเวทีได้สะดวกมากขึ้น
7.การจัดห้องประชุม U shape เหมาะกับงานขนาดเล็ก-กลางที่วิทยากรหรือผู้บรรยายต้องการใกล้ชิดผู้ฟัง สามารถเดินเข้าไปหาผู้ฟังได้ง่าย
รูปแบบของ เก้าอี้ห้องประชุม
1.เก้าอี้โพลี
2.เก้าอี้สัมมนา
3.เก้าอี้หัวโค้ง
4.เก้าอี้ทรงราชา
- หลีกเลี่ยงแดดส่อง บนเก้าอี้ตาข่ายเป็น เวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้า หรือตาข่ายซีดจาง และอาจทำให้ฟองน้ำและ เนื้อผ้าเสื่อมสภาพก่อนเวลา อันควร และไม่ควรวางเก้าอี้ตาข่าย ไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะความชื่นอาจ ทำให้เกิดราขึ้น ที่เนื้อผ้าได้
- หากทำน้ำหรือ เครื่องดื่มหกเลาะเก้าอี้ ให้เช็ดด้วยผ้าสะอาด หรือฟองน้ำทันที และถ้าเป็นคราบ ให้เช็ดด้วยน้ำสบู่เจือจาง แล้วเช็ดด้วยผ้าหมาด ๆ แล้วผึ่งลมให้แห้ง
- ระมัดระวังของมีคม หรืออุปกรณ์สำนักงาน ที่มีปลายแหลม อย่างเช่นปากกา หรือ คัตเตอร์ โดนผ้าเบาะ หรือผ้าตาข่าย
อาจทำให้ผ้าฉีกขาด เกิดความเสียหายได้
- ทำความสะอาด เก้าอี้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ผ้าสะอาด ทำความสะอาด เช็ดฝุ่นที่เกาะ อยู่ตามเก้าอี้ นอกจากนี้ควรใช้ เครื่องดูดฝุ่นดูดตาม ซอกต่าง ๆ ด้วย และหลีกเลี่ยง การใช้น้ำยาเคมีใน การทำความสะอาด เพราะอาจจะทำให้เก้าอี้ เกิดความเสียหายได้
นอกจากการดูแล ในเบื้องต้นแล้ว ก่อนซื้อ เก้าอี้สำนักงาน ควรเลือกเก้าอี้สำนักงาน ที่มีคุณภาพ ใช้วัสดุทนทาน สามารถรองรับการใช้งานได้ดี และควรเลือกเก้าอี้ที่มีการ รับประกันสินค้า เผื่อเกิดความเสียหาย
Ergonomics สำคัญอย่างไรกับ เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก
เราขอเรียกทั้งสองคำรวม ๆ ว่า Ergonomics เก้าอี้ห้องประชุมทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ออกแบบตามหลัก Ergonomics จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจ และอาจจะส่ง ผลเสียไปยังคุณภาพ ของงานที่ทำได้ด้วย เช่น เก้าอี้ไม่สมดุลกับผู้ใช้ ไม่มีการรองรับ และซัพพอร์ตที่ดี อาจจะเกิดภาวะทางร่างกาย เช่น ป่วยเมื่อยตามร่างกาย Office Syndrome หรือลามไปจนถึงโรคเรื้อรัง ในส่วนของการส่งผลต่อจิตใจ จะทำให้เกิดความเครียดสะสม Ergonomics จึงเป็นการประยุกต์ศาสตร์ด้านต่าง ๆ ทั้งชีววิทยา จิตวิทยา สรีรศาสตร์ กายภาคศาสตร์ เพื่อขจัดสิ่งที่อาจ เป็นสาเหตุทำให้พนักงาน เกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย มีสุขอนามัยทั้งทางร่างกาย และจิตใจที่ไม่ดี อันเนื่องมา จากการทำงาน ในสภาพแวดล้อมี่ไม่เหมาะสม ข้อกำหนดและลักษณะเก้าอี้ Ergonomicsเก้าที่ถูกต้องทั้งตามหลักสรีรศาสตร์ และการยศาสตร์นั้นจริง ๆ ควรเป็นอย่างไร
- ปรับระดับความสูงของที่รองคอได้ ช่วยลดภาระของคอ และลดอาการเกร็ง
- พนักพิงด้านหลังมีส่วนเว้าเพื่อรองรับเอวช่วงล่างหรือหลังส่วนล่างให้แนบไปกับเก้าอี้และสามารถปรับการล็อคเอนได้
- ปรับระดับขององศาที่รองคอได้
- ที่รองคอเป็นตาข่ายโปร่ง ไม่เก็บฝุ่น ทำความสะอาดง่าย
- ที่วางแขนสามารถปรับเข้า-ออกได้ และสามารถปรับระดับความสูงได้
- ปรับความหยืดหนุ่นของพนักพิงได้
- สามารถปรับเบาะรองนั่งเข้า-ออกได้
- ปรับรองนั่งสามารถปรับเบาะเข้า-ออกได้
สรีรศาสตร์กับลักษณะท่านั่งที่เหมาะสมตามหลักการ
- ศีรษะ จะต้องตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อย โดยต้องทำมุม 10 – 15 องศา เพื่อให้สายตาขนานไปกับพื้นได้อย่างพอดี ไม่ก้มต่ำจนเกินไป
- คอ ควรอยู่ในระดับสายตา ไม่เอียงหรือยื่นไปข้างหน้า
- หลัง จะต้องชิดแนบไปกับพนักพิง โดยสามารถเอนได้เล็กที่ 120 องศา ลำตัวตั้งตรง ไม่แอ่นหรือหลังค่อม
- ก้น จะต้องแนบชิดไปกับพนักพิง หรือพูดง่าย ๆ คือ นั่งให้เต็มก้น โดยแนบเป็นมุมฉากกับพนักพิงและควรลงน้ำหนักในการนั่งบนกล้ามเนื้อสองข้างให้สมดุลกัน
- ข้อศอก วางแนบชิดไปกับลำตัว หรืออาจจะวางบนที่พักแขนโดยทำมุม 90 องศา ซึ่งข้อมือและศอกควรอยู่ในแนวเส้นตรง
- ต้นขา ควรวางราบกับเก้าอี้ และแนบชิดไปกับเบาะของที่นั่งในองศาที่พอดี
- เข่า ข้อพับด้านหลังเข่าแนบชิดกับเบาะรองนั่ง โดยทำมุมตั้งฉากที่ 90 องศา
- เท้า วางราบกับพื้นแบบเต็มฝ่าเท้า ไม่ควรนั่งให้เท้าลอยจากพื้น เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อช่วงขาเกร็ง และเกิดอาการปวดเมื่อยตามมาได้
ทั้งหมดนี้เป็นคือความสำคัญของหลักสรีรศาสตร์และการยศาสตร์ที่เกี่ยวกับข้อกับเก้าอี้ห้องประชุม โดยโดยคำแนะนำข้างต้น สามารถลองนำไปใช้กันได้ เพื่อปรับเปลี่ยนท่านั่งที่ถูกต้องไปพร้อมกับเปลี่ยนเก้าอี้ที่มีการซัพพอร์ตอวัยวะของเรา
กลับสู่หน้าหลัก – savecyber