โรคจิตอารมณ์ หรือแค่อารมณ์แปรปรวน
เราแค่อารมณ์แปรปรวน หรือเราเป็นโรคจิตทางอารมณ์ ?
โรคจิตอารมณ์ การที่เรามีอารมณ์แปรปรวน ไม่ว่าจะเป็นอยู่ดีๆ ก็มีความสุขมาก อยู่ดีๆก็เศร้า หรือบางทีก็เฉยๆไปหมด คงจะเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว แต่หากอารมณ์เหล่านั้น เริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นล่ะ..? มันยังปกติอยู่มั้ย ?
วันนี้ Agnos พามาทำความรู้จักกับ โรคจิตทางอารมณ์ หรือ affective psychosis ซึ่งเป็นโรคที่ได้รับการวิเคราะห์จากทางแอปพลิเคชั่น Agnos อันดับ 1 เลยทีเดียว
โรคจิตทางอารมณ์ ( affective psychosis ) คืออะไร ?
โรคจิตทางอารมณ์เป็นความผิดปกติทางจิตทางอารมณ์อย่างรุนแรง ที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆได้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล รวมถึงแสดงออกถึงอารมณ์ที่มีความสุขมาก หรือตื่นเต้นมากได้อีกด้วย
ผู้ป่วยต้องมีอาการทางโรคจิต (Psychosis) ร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการสำคัญที่ทำให้โรคจิตทางอารมณ์ต่างจากโรคทางอารมณ์อื่นๆ โดยการแสดงออกทางอารมณ์เหล่านั้นมักจะมาพร้อมกับความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
- อาการหลงผิด สับสน
- มีทัศนคติเกี่ยวกับตัวเองที่ผิดปกติกว่าเดิม เช่น การคิดว่าตัวเองมีความสำคัญ หรือเหนือคนอื่น
- มีความผิดปกติทางการรับรู้หรือพฤติกรรม
การแบ่งประเภทของโรคจิตทางอารมณ์นั้นค่อนข้างซับซ้อน เพราะสามรถแบ่งได้ตามเกณฑ์ต่างๆ แล้วแต่ผู้จำแนกนั่นเอง
โดยหากแบ่งตามสมาคมจิตแพทย์ของอเมริกา ( ปี ค.ศ. 1980 )
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆได้ คือ
- ชนิดอาการซึมเศร้า (Depression)
โดยชนิดนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้ศึกเศร้า หรือสิ้นหวังมากกว่าปกติ โดยจากสถิติมีประชากรกว่า 264 ล้านคนทั่วโลกมีภาวะหรืออาการนี้
โดยสามารถแบ่งย่อยๆได้อีก 3 ชนิดคือ
- โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเศร้า สิ้นหวัง เหนื่อยมาเป็นเวลานาน รวมถึงอาการร่วมอื่นๆ อย่าง การนอนไม่หลับ หรือไม่อยากอาหารเป็นต้น
- โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia) โดยผู้ป่วยจะมีภาวะซึมเศร้าเป็นเวลานาน อย่างน้อย 1 ปีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
- โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Major depressive with seasonal patterns) โดยผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศและฤดู ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการหรือโรคกำเริบนั่นเอง
นอกจากนี้อาจมีภาวะอื่นที่สามารถส่งผลกระทบทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของผู้หญิงในช่วงประจำเดือน หรือ ช่วงตั้งครรภ์เป็นต้น
2. ชนิดอาการไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)
โดยไบโพลาร์เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่ทำให้ผู้ป่วยเจอกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง
โดยไบโพลาร์เองก็สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 ชนิดด้วยกัน คือ
- ไบโพลาร์ชนิดที่ 1 (Bipolar I ) โดยชนิดนี้ผู้ป่วยอาจอยู่ในช่วงคลั่ง (Hypomania) อย่างน้อย 7 วัน
**ซึ่งภาวะซึมเศร้ามักไม่ค่อยเกิดกับไบโพลาร์ชนิดที่ 1 แต่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางคน**
- ไบโพลาร์ชนิดที่ 2 (Bipolar II ) โดยผู้ป่วยอาจมีภาวะซึมเศร้ามากกว่า 2 อาทิตย์ โดยอาจมีอาการคลั่งที่ไม่รุนแรงร่วมด้วย
- ไซโคลทิเมีย (Cyclothymia) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคไบโพลาร์ที่ไม่รุนแรง อาจมีอาการทั้งภาวะซึมเศร้าและภาวะคลั่งได้ แต่จะไม่มีระยะเวลาใดๆมาเป็นตัวกำหนด
ผู้ป่วยอาจเป็นสลับกัน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นเวลา 2 ปี หรือมากกว่านั้น
แล้วมันอันตรายยังไงล่ะ..?
แน่นอนว่าการที่เราเป็นโรคจิตทางรมณ์นั้น ก็อันตรายมากพอจากอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า สิ้นหวัง หรือภาวะต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเรา
แต่ความอันตรายยังมีมากกว่านั้น เนื่องจากโรคจิตทางอารมณ์นั้น อาจมีอาการร่วมที่เกิดจากภาวะของทั้งสองชนิดที่กล่าวมา คือ
- ความเศร้า หงุดหงิด วิตกกังวล
- เหนื่อย ไม่อยากทำอะไรเลย
- ไม่สนใจสิ่งรอบตัว หรือคนรอบข้าง รวมถึงงานอดิเรกที่เคยชอบทำ
- ความผิดปกติทางพฤติกรรมการนอนและกิน
- พฤติกรรมเปลี่ยนไป
- ไม่มีสมาธิ
- อาจมีความติดฆ่าตัวตาย
- ก้าวร้าวขึ้น
- ตัดสินใจปุบปับ ประมาท
- มั่นใจในตัวเองจนเกินไป
แล้วโรคจิตทางอารมณ์เกิดจากอะไรกัน ?
เช่นเดียวกับโรคทางจิตหลายๆโรค ณ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคจิตทางอารมณ์ แต่มีปัจจัยเสี่ยงและกระตุ้นโรคนี้ได้
- สารสื่อประสาท หรือเคมีในสมองผิดปกติ
- เหตุการณ์ที่ร้ายแรงบางอย่าง ที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ก็อาจเป็นปัจจัยที่สามารถกระตุ้นโรคนี้ได้ เช่น การสูญเสียคนรัก
- การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีภาวะซึมเศร้า หรือโรคอาการทางจิตใดๆ ทางลูกหรือญาติๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน
อารมณ์แปรปรวน หรือ รุนแรงขนาดไหนถึงต้องไปหาหมอ ?
การวินิจฉัย หรือแบบทดสอบเพื่อหาโรคจิตทางอารมณ์โดยตรงนั้นยังไม่มี แต่ผู้เชี่ยวชาญสามารถประเมินตามอาการได้
โดยหากใครมีอาการที่กังวลสามารถตรวจคัดกรองอาการด้วยแอปพลิเคชั่น Agnos ก่อนได้ ด้วยการใช้ตัว AI ปัญญาประดิษฐ์ เพียงแค่ใส่อาการที่เป็นและตอบคำถามจากทาง AI เพื่อรับการวิเคราะห์เบื้องต้นนั่นเอง
โรคนี้สามารถหายได้มั้ย ?
ข่าวดีคือ แน่นอนว่าได้ แต่ข่าวร้าย คือ โรคจิตทางอารมณ์สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้
การรักษาหลักๆ จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- การรับการบำบัด
- รักษาด้วยยา
รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ และกินอาหารที่มีประโยชน์เป็นต้น
ระยะการรักษาของแต่ละคนอาจขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค
แน่นอนว่าหากได้รับการรักษาที่ยิ่งไว และตรงจุดมากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสหายได้ไวมากเท่านั้น
โดยหากใครมีอาการไม่พึงประสงค์และกังวลใดๆ อย่าลืมนึกถึง Agnos เลย โหลดติดเครื่องไว้ สบายใจกว่า เช็กอาการเบื้องต้นได้ฟรี 24 ชั่วโมง เสมือนมีเพื่อนเป็นหมอ !
อ้างอิง :
https://www.healthline.com/health/affective-disorders#takeaway
https://www.healthcarethai.com
https://www.nasmhpd.org/sites/default/files/DH-TreatingAffectivePsychosis_v2_0.pdf
https://saranukromthai.or.th